วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมภาคกลาง

วัภาคกลาง

          บริเวณภาคกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ที่เกิดจาก การทับถมดินตะกอนของแม่น้ำ การตั้งถิ่นฐานของ ผู้จะอยู่บริเวณน้ำ เช่น การพายเรือสินค้าจนกลาย เป็นตลาดน้ำ การเล่นเพลง หรือการอาศัยอยู่บน เรือนแพ เป็นต้น
 วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย
    บ้านทรงไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประ
เทศ ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย คือ เป็นเรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน ส่วนหลังคาที่สูงและลาดชันก็เหมาะ กับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีฝนตกชุกของภาคกลาง เพราะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทมา ยังห้องได้ช้า และทำให้ฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว รอบตัวเรือนมีชายคายื่นยาว เพื่อป้องกันกันฝนสาด และ แสงแดด การสร้างบ้านยังคำนึงเรื่องทิศทางของการระบายลม และระบายความร้อน
     เอกลักษณ์อีกอย่างของเรือนไทย คือมีชานบ้านซึ่งเป็นที่โล่งกลางบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ เช่น เป็นที่พัก หย่อนใจของคนในครอบครัว นั่งทำงาน รับรองแขก และการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่
บ้านเรือนไทย หรือเรือนไทย เรือนไทยภาคกลางจะสร้างด้วยไม้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1.    เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
        2.    เรือนไม้ผูก เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่  สร้างโดยไม่ใช้ตะปู แต่จะนำจำนวนต่างๆ ของเรือนมาประกอบกัน เรียกว่า การเข้าไม้ ทำให้สะดวกต่อการย้ายบ้าน

วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม
     คนในภาคกลางมีวัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรมมากมาย ทั้งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับคน เช่น การลงแขกทำนา การละเล่นเพลงพื้นบ้าน และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ เช่น การบูชาแม่โพสพ
 

       วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
คนภาคกลางนิยมรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหาร หลักในอดีต คนภาคกลางนิยมใช้ใบบัวห่อข้าวนำไปรับประทานเวลา ออกไปทำงานในนา หรือการเดินทางเรียกกันว่า"ข้าวห่อใบบัว" กับ ข้าวที่นิยมมีเกือบทุกมื้ออาหาร คือ น้ำพริกประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริก เผา น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาย่าง รับประทานกับผัก  และ นิยมปรุงรสอาหารด้วยน้ำปลา


        รสชาติอาหารภาค กลางมีการผสมผสานของหลากหลายรสชาติ ทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เอกลักษณ์ของรสชาติอาหาร ไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุง เพียงอย่างเดียว เช่น รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหาร อาจได้ทั้งจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก ผล ไม้บางชนิด เช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความ หลากหลายใช้ชนิดของอาหารไทยภาคกลาง เช่น ต้มยำ ใช้มะนาว เพื่อให้รสเปรี้ยว แต่ต้มโคล้ง ใช้น้ำมะขามเปียก เพื่อให้รส เปรี้ยวแทน

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม
      ประเพณีรับบัว
       ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

การแต่งกายภาคกลาง

การแต่งกายของภาคกลาง
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง
ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม 

 


แหล่งที่มา:

 โดย ด.ญ. อรัชพร แย้มสรวล ชั้น.ม.2/10 เลขที่ 25